วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระบบเศรษฐกิจโลก

ระบบเศรษฐกิจ ความหมายของระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ ( economic system ) หมายถึงกลุ่มบุคคลของสังคมที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งยึดถือแนวปฏิบัติแนวทางเดียวกันในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ อำนวยความสะดวกในการที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบำบัดความต้องการให้แก่บุคคลต่างๆที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้นให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ 1.ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ( Laissez-faire or capitalism) ระบบเศรษฐกิจนี้เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่เอกชนในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ทว่าเสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
       ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกตั้ง เลือกตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 2.กำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแรงจูงใจในการทำงานทำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
       ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.ก่อให้เกิดปัญหาการเหลื่อมล้ำอันเนื่องมาจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลโดยพื้นฐานทำให้การหารายได้ไม่เท่ากัน 2.ในหลายๆกรณีกลไกทางการตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัยากรในระบบเศรษฐกิจ 3.การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างสิ้นเปลือง 2.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ( communism ) ระบบเศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทั้งทรัพยากรต่างๆและปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การตัดสินใจมักจะทำอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับ จากส่วนกลาง (central planning) โดยคำนึงถึงสวัสดิการของสังคมเป็นสำคัญ
       ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1.เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม 2.ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและปริโภคตามคำสั่งของรัฐ
       ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1.ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจ 2.สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงทุนทรัพย์ในการผลิต 3.การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ 3.ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ( socialism ) ระบบเศรษฐกิจแบบนี้เป็นระบบที่ใกล้เคียงกับระบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้รัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรพื้นฐานไว้เกือบทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามรัฐยังให้เสรีภาพแก่ประชาชนบ้างพอสมควร เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ระบบกลไกราคามีผลอยู่บ้างในระบบเศรษฐกิจนี้
       ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1.ช่วยลดปัญหาการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคล 2.เอกชนมีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินได้บ้าง
       ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1.การผลิตถูกจำกัดเพราะต้องผลิตตามที่รัฐกำหนด 2.โอกาสที่จะขยายการผลิตหรือพัฒนาคุณภาพการผลิตเป็นไปได้อย่างลำบาก
4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ( mixed economy )
ระบบเศรษกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างแบบทุนนิยมและสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐและเอกชน
       ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความคล่องตัว
       ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.การมีกำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพสินอาจทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ 2.การที่รัฐสามารถเข้าแทรกแซงตลาดโดยใช้กลไกรัฐอาจก่อให้เกิด
   2.1 ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง   2.2ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองและนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย       
 การพัฒนาเศรษฐกิจ หลักเกณฑ์การวัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ 1. รายได้ต่อบุคคล 2. คุณภาพของประชากร (ซึ่งวัดจากสถิติหลาย ๆ ด้านประกอบกัน เช่น การศึกษา) การแบ่งกลุ่มประเทศโดยใช้เกณฑ์ทางเศรษฐกิจ 1. กลุ่มโลกที่หนึ่ง (ประเทศที่พัฒนาแล้ว) เป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงมาก และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้ามาก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น 2. กลุ่มโลกที่สอง (ประเทศสังคมนิยม) ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ คิวบา 3. กลุ่มโลกที่สาม (ประเทศด้อยพัฒนา) เป็นประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกาละตินอเมริกา และเอเซีย ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ 1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การสะสมทุนสูง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์และประชากรเหมาะสม 2. ปัจจัยทางการเมืองและสังคม เช่น เสถียรภาพทางการเมืองที่สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน ทฤษฏีการพัฒนาเศรษฐกิจ แบบดั้งเดิม (ค.ศ 1940-1960) • เชื่อว่าประเทศด้อยพัฒนาขาดแคลนทุน-เทคโนโลยี • เน้นการแก้ปัญหาโดยรับความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากต่างประเทศ ส่งเสริมการค้าเสรี-การลงทุนจากต่างประเทศ และซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในภาคเอกชนและการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการ นอกจากนี้ยังเน้นการลดอัตราการเกิดของประชากร • แนวคิดนี้ปรากฏแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย ฉบับที่ 1-4 แบบใหม่ (ค.ศ. 1960-1980) • เน้นการสร้างความเจริญด้านอุตสาหกรรม ควบคู่กับการแก้ปัญหาการกระจายรายได้และความยากจนในชนบท และให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น สังคม วัฒนธรรม และการเมืองด้วย • แนวคิดนี้ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยฉบับที่ 5-7 แบบพึ่งตัวเอง • เน้นที่การพัฒนาประชากร และลดการพึ่งพิงประเทศพัฒนาแล้ว การก้าวเข้าสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NEW INDUSTRALIZED COUNTRIES, NICs) ปัจจัยที่ส่งเสริม เช่น • การใช้ทุนและเทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น และเน้นการผลิตด้านอุตสาหกรรมและบริการมากขึ้น • มีแรงงานมาก • การประกอบการที่ดี • มีธุรกิจแบบบริษัทมหาชน เพื่อระดมทุนได้มาก ๆ • เน้นการผลิตเพื่อการส่งออก โดยเน้นการผลิตจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ • มีประชากรที่มีคุณภาพ เกณฑ์ในการวัดความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ • สัดส่วนสาขาเศรษฐกิจแบบหัตถอุตสาหกรรมเทียบกับ GDP ร้อยละ 20 ขึ้นไป • สัดส่วนการจ้างงานในสาขาหัตถอุตสาหกรรม ร้อยละ 25 ขึ้นไป • รายได้ต่อหัว 1,800 ดอลล่าร์สหรัฐขึ้นไป • สัดส่วนของการออมต่อ GDP มากกว่าร้อยละ 30 ขึ้นไป • ระดับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีการผลิต มีการใช้เทคนิควิทยาการชั้นสูง ข้อผิดพลาดในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา 1. การมุ่งกิจการเพื่อศักดิ์ศรีของประเทศ หรือกิจกรรมที่ไม่ได้ใช้แรงงานที่มีอยู่ในประเทศ 2. การมุ่งสร้างสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แสดงความก้าวหน้าทางสังคม 3. การสร้างกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ของประเทศอุตสาหกรรม เช่นย้ายโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสารพิษมาตั้งในประเทศกำลังพัฒนา
                               http://www.woranari.ac.th/woranari/websangkom/new_page_2.htm

ระบบเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

- ระบบเศรษฐกิจเอกชนมีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินงานอย่างเต็มที่  รัฐบาลเป็นเพียงผู้การสนับสนุนแก่ระบบเศรษฐกิจแบบใด    
  ระบบแบบทุนนิยม
-ระบบที่ใช้ควบคุมการดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมให้สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่สิ่งใด     
ระบบกลไกตลาด
-ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมการดำเนินการทางด้านสาธารณูปโภค เป็นบทบาทหน้าที่ของใคร
ภาครัฐบาล
 -ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจะใช้สิ่งใดเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ  
 การได้กำไรเป็นสิ่งตอบแทน
-ลักษณะสำคัญที่แสดงว่าระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นแบบผสมคือสิ่งใด
มีการวางแผนด้านเศรษฐกิจและสังคมล่วงหน้า
-สิ่งไม่ใช่รูปแบบการดำเนินการของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
เอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจมากกว่ารัฐบาล
-ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นการนำส่วนดีของระบบเศรษฐกิจแบบใดมาผสมกัน
ทุนนิยม – สังคมนิยม
-การดำเนินการเศรษฐกิจแบบผสมให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากที่สุด
ภาครัฐบาล
-ระบบกลไกการตลาดของระบบเศรษฐกิจแบบผสมให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากที่สุด
สินค้ามีคุณภาพและราคาที่ถูก
-อะไรคือข้อดีของการดำเนินการในระบบเศรษฐกิจแบบผสม
 เกิดความเป็นธรรมในการบริโภคสินค้า
-คุณลักษณ์ใดของมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางระบบเศรษฐกิจมากที่สุด
  คุณภาพของประชากร
-ประเทศที่สามารถพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจให้มีรุ้งเรืองอย่างรวดเร็วได้ จะต้องมีทรัพยากรของชาติลักษณะใด
  มีทรัพยากรธรรมชาติต่างๆปริมาณมาก
-ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของใครสำคัญที่สุด
 ผลประโยชน์ของรัฐ-การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของไทยเป็นการเพิ่มบทบาทของเศรษฐกิจกับใครเพิ่มขึ้น
  เอกชน-ข้อใดที่จัดเป็นข้อดีของการดำเนินงานในระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มากที่สุด
  ทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
-ข้อใดไม่ใช่ผลดีทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเพิ่มจำนวนประชากร
  งบประมาณของรัฐบาลเพิ่มขึ้น
-ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใด
แบบผสม
-องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือองค์กรใด
WTO
-วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการก่อตั้งสมาคมประชากรประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อร่วมมือกันทางด้านต่างๆยกเว้นร่วมมือทางด้านใด
 ความร่วมมือทางด้านทหาร
-ปัจจุบันสมาคมประชากรประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ
จำนวน 10 ประเทศ
-เขตการค้าแสรีเอเซียนหรืออาฟตา เป็นกลุ่มความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจที่ก่อตั้งขึ้นมาเมื้อใด
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2535
-กลุ่มทางร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียและแปซิฟิกและเอเปก เป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สมาชิกทั้งหมดตั้งอยู่ในบริเวณใด
ตั้งอยู่บริเวณชายฝรั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
-ประเทศที่สมาชิกใหม่ของสมาคมประชากรประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือประเทศใด
ประเทศกัมพูชา
-กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียและแปซิฟิกหรือเอเปก เน้นบทบาทความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเน้นใดสำคัญที่สุด
การค้าระหว่างกันอย่างเสรี
-เป้าหมายสำคัญของการดำเนินงานของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา คือด้านใด
การลดภาษีเข้าของประเทศสมาชิกที่เหลือน้อยที่สุด
-ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นความร่วมมือของประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตใด
ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง
-ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สี่เหลี่ยม เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศใด
ไทย พม่า จีน ลาว
-ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศใด
 ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
-การทำข้อตกลงการค้าเสรี(FTA)ระหว่างไทยกับประเทศใดที่ช่วยให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวมากที่สุด
  เขตการค้าเสรี(FTA) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน
-ข้อใดคือประโยชน์ของการทำการค้าระหว่างประเทศตามนโยบายการค้าเสรี
  สินค้าที่แต่ละประเทศส่งออกเป็นสินค้าที่ประเทศมีความชำนาญในการผลิตและมีต้นทุนต่ำ
-มาตรการกีดกันทางการค้าที่ประเทศทั่วโลกนิยมใช้กันมากที่สุด คือวิธีการในข้อใด
การใช้มาตรการภาษี
-การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับจีน จะทำให้สินค้าชนิดใดของไทยได้รับประโยชน์สูงสุด
 พืชผักผลไม้

ติวหน้าที่พลเมือง

1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือผู้ที่มีลักษณะสำคัญอย่างไร
- คือผู้ที่ปฎิบัติตามสถานภาพ บทบาท สิทธิหน้าที่ของตนได้อย่างเหมาะสมปฏิบัติตามกฎหมายบ้าน 
   เมืองอย่างเคร่งครัด มีคุณธรรมจริยธรรมตามหลักศาสนา และศรัทธาในระบอบการปกครองแบบ
   ประชาธิปไตย2. สถานภาพของบุคคลตามวิธีประชาธิปไตย มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
- สถานภาพคือตำแหน่งหรือฐานะของบุคคลที่ได้รับมาจากเป็นสมาชิกของสังคม โดยแต่ละบุคคลจะมีหลายสถานภาพ ซึ่งถ้าเราปฏิบัติตนตามสถานภาพแล้วสังคมก็จะเป็นระเบียบ3. สถานภาพโดยกำเนิดของบุคคล มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
- คือสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ไม่สามรถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การมีสถานภาพเป็น ชายหรือหญิง  เป็นพี่หรือน้อง  หรือการมีเชื้อชาติไทย4. สถานภาพที่ได้มาโดยความสามารถ มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
- เป็นสถานภาพที่บุคคลได้มาจากความเพียรพยายามของบุคคล เช่น ตำแหน่งหน้าที่การงานต่างๆ5. บทบาทการเป็นสมาชิกในสังคมของบุคคล มีความสำคัญอย่างไร
- คือสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลที่จะต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานภาพของตน โดยบทบาทและสถานภาพจะเป็นตัวกำหนดซึ่งกันและกัน6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้บุคคลสามารถใช้ชีวิตอย่างมีอิสระได้ในสถานที่ใดมากที่สุด
- รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ประชาชนชาวไทยมีเสรีภาพในเคหะสถานของตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยทุกคนจะต้องให้ความเคารพ ไม่สามารถละเมิดเสรีภาพดังกล่าวได้ หากเจ้าหน้าที่รัฐจะตรวจค้น ต้องมีหมายศาลก่อน7. กฎหมายบัญญัติให้ประชาชนชาวไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างไร
- ให้ประชาชนนับถือศาสนาได้อย่างเสรี ไม่มีการบังคับ เป็นไปตามความเชื่อและความสมัครใจของบุคคลนั้นๆ ตราบที่ไม่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น8.  เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนไทยที่กฎหมายให้การคุ้มครอง เป็นการชุมนุมในลักษณะใด
- คือการชุมนุมอย่างสงบ ปราศจากอาวุธใดๆ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น เป็นการชุมนุมเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐ ใช้หลักสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง9. หน้าที่ใดของประชาชนชาวไทยที่มีส่วนทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมมากที่สุด
- การปฏิบัติตามหน้าที่ ให้ความเคารพต่อกฎหมายบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด10. หน้าที่ของผลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองได้โดยวิธีใด
- คือการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งตัวแทนตนเองในระดับต่างๆ โดยเลือกคนดี มีความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต11. หน้าที่ของผลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในด้านเศรษฐกิจ สามารถทำได้โดยวิธีใด
- การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิธีประชาธิปไตยในด้านเศรษฐกิจโดยการประกอบอาชีพสุจริต ไม่คดโกงผู้อื่น ไม่คอร์รัปชั่น เมื่อมีรายได้ตามเกณฑ์ก็ไปเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย รู้จักอดออม ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ดำรงชีวิตแบบพอเพียง12. หน้าที่ของผลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยทางด้านการเมืองการปกครอง ควรปฏิบัติอย่างไร
- โดยการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งในระดับต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกคนดี มีคุณธรรมและมีความสามารถมาเป็นตัวแทน13. หน้าที่ของผลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยทางด้านสังคมวัฒนธรรม ควรปฏิบัติอย่างไร
- โดยการยึดมั่นตามหลักคำสอนที่ตนเองนับถืออย่างเคร่งครัด สืบทอดประเพณีอันดีงามของชาติ การใช้ภาษาที่ถูกต้อง14. สถานบันครอบครัว มีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
- เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสมรส การเลี้ยงดูบุตร มีหน้าที่เพื่อให้กำเนิดสมาชิกใหม่เพื่อทดแทนสมาชิกเก่า การอบรมเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี 15. สถานบันการศึกษา มีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
- ให้การขัดเกลาและถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรมให้กับสมาชิกในสังคม มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา ครู-อาจารย์ เพื่อให้เกิดทักษะและปัญญาที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาต่างๆ และดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม16. สถานบันศาสนา มีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
- ทำหน้าที่ให้การขัดเกลาจิตใจ ปลูกฝังศีลธรรมอันดีงามของสมาชิกในสังคม มีความเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ นักบวช ศาสนิกชนมีประโยชน์ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข17. สถานบันเศรษฐกิจ มีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
- ทำหน้าที่จัดหาสินค้าอุปโภค-บริโภค เพื่อให้พอเพียงแก่สมาชิกในสังคมรวมถึงกำหนดความสัมพันธ์ต่อกัน เช่น การเป็นพ่อค้าแม่ค้า ลูกค้า 18. สถานบันการเมืองการปกครอง มีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
- จัดระเบียบสังคมให้ทุกคนสามารถอยู่รวมกันได้อย่างสงบสุข การปกครองที่ดีต้องให้ผู้อยู่ใต้การปกครองทุกคนดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาล พรรคการเมือง ประชาชน รัฐสภา
19. วัฒนธรรมทางด้านศาสนาของไทยมีความคล้ายคลึงกับประเทศใดในภูมิภาพเอเชียมากที่สุด
- การนับถือศาสนาของไทยจะคล้ายคลึงกับประเทศลาว พม่า เวียดนาม 20. วัฒนธรรมไทยในด้านใดมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชียมากที่สุด
- ทางด้านภาษา เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร

ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์มากที่สุด
1. ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือสิ่งใด
2. ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คือสิ่งใด
3. ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม คือสิ่งใด
4. ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ คือสิ่งใด
5. กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ( APEC ) มีความสำคัญอย่างไร
6. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( ASEAN ) เป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคใด
7. วัตถุประสงค์สำคัญของการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือวัตถุประสงค์ใด
8. การทำข้อตกลงทางการค้าซึ่งเป็นเขตกาค้าเสรี ( FTA ) ระหว่างไทยกับจีน สินค้าของไทยประเภทใดที่จะได้ประโยชน์สูงสุด
9. กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศใด
10. กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศใด 
11.   กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศใด 
12. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร
13. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกัน การมีปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกัน มีความจำเป็นที่จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร
14. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับจำนวนประชากร มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร
15. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว มีความจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร
16. การค้าระหว่างประเทศ หมายถึงสิ่งใด
17. นโยบายการค้าเสรี มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
18. นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
19. ประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติในลักษณะใดที่จะมีความได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในการพัฒนาประเทศ
20. ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง