วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ติวเรื่องพระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช

สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับอาณาจักรธนบุรี (พ.ศ. 2310-2325)

-  พระเจ้าตากเดิมมีชื่อว่า    สิน  บิดาชื่อว่านายไหฮอง  (ขุนพัฒน์) เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย      มารดาชื่อ นกเอี้ยง
- ตอนพระเจ้าตากทรงพระราชสมภพ ในวันที่ 17 เมษายน 2277 ตรงกับแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
- เมื่อทรงพระเยาว์ พระยาจักรี(สมุหนายก) ได้ขอเอาเป็นบุตรธรรม พออายุ 9 ขวบส่งให้เรียนกับ
   อ.ทองดี วัดโกษาวาส
- อายุ 13 พระยาจักรีนำไปถวายตัวรับราชการเป็น มหาดเล็ก
- พ.ศ. 2301  พระเจ้าเอกทัศน์ โปรดเกล้าฯให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราไปชำระความ ต่อมาก็เป็น
   หลวงยกกระบัตรเมืองตาก
   ต่อมาพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาตาก
    (มีทหารเอก คือนายทองดี ต่อมาเป็นพระยาพิชัย)
- พ.ศ. 2308 ไปรับการโปรดเกล้าฯเป็น พระยาวชิรปราการ  ครองเมืองกำแพงเพชร แต่ไม่ทันได้ไปครอง
   พม่าโจมตีพระนคร
- แม่ทัพพม่า คือ พระเจ้ามังระ พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา
- เหตุที่ไทยต้องพ่ายแพ้และเสียกรุงแก่พม่า คือ 1 พระมหากษัตริย์อ่อนแอ  2. แม่ทัพนายกองไม่มีความ
   สามารถและไม่ได้รับความสะดวกในการต่อสู้   3. ทหารขาดความสามารถเพราะว่างจากการศึกเป็น
   เวลานาน
- กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าปี พ.ศ. 2310 การเสียกรุงในครั้งนี้ทำให้บ้านเมืองเสียหายมาก พม่ากวาด
   ต้อนทรัพย์สมบัติและผู้คนไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก
- พม่าแต่งตั้ง สุกี้พระนายกอง เป็นผู้ดูแลและกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สมบัติส่งไปยังพม่า
- พระยาตากเห็นว่าอยุธยาไม่สามารถต้านทานทัพพม่าได้และทั้งความอ่อนแอของกษัตริย์ ขุนนาง และ
   การไม่พร้อมรบเพราะไม่ได้มีการซ้อม ก็ได้รวบรวมไพร่พลไทย-จีน ประมาณ 500 คนตีฝ่าวงล้อมไป
   ทางทิศตะวันออก
- เมืองที่พระยาตากผ่านได้แก่ อยุธยา----นครนายก-----ปราจีนบุรี-----ฉะเชิงเทรา-----ชลบุรี-----
   ระยอง-----จันทบุรี
- พระยาตากรวบรวมหัวเมืองตะวันออกและตั้งที่มั่นที่เมืองจันทบุรีเพราะเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์
   ด้วยข้าวปลาอาหาร
- หลักจากตีเมืองระยองได้ ท่านก็ได้สมญานามว่า  เจ้าตาก  แล้วตกทัพไปตีจันทบุรีต่อไป
- เมื่อได้จันทบุรีแล้วก็ให้มีการต่อเรือ 100 กว่าลำ
- กองทัพเรือที่บัญชาการโดยพระเจ้าตากสินได้โจมตีเมืองธนบุรีเป็นครั้งแรก และจับนายทองอิน
   ประหารชีวิต
- เมื่อต่อเรือและรวบรวมผู้คนได้พร้อมแล้ว พระยาตากจึงได้เคลื่อนทัพเรือมุ่งเข้าตีกองทัพพม่าที่ค่าย
  โพธิ์สามต้น
  สุกี้พระนายกองได้ต่อสู้จนตายในสนามรบ
- หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกราชคืนมาจากพม่าแล้ว สภาพบ้านเมืองของ
   กรุงศรีอยุธยาทุดโทรมมาก ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเมืองหลวงอีกต่อไป เพราะ
     1. กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายชำรุดทรุดโทรมมาก ยากแก่การบูรณะให้ดีดังเดิมได้
     2. กรุงศรีอยุธยามีบริเวณกว้างขวางมาก เกินกว่ากำลังของพระองค์ที่มีอยู่ เพราะผู้คนอาศัยอยู่ตาม
        เมืองน้อย ส่วนมากหลบหนีพม่าไปอยู่ตามป่า จึงยากแก่การรักษาบ้านเมืองได้สะดวกและปลอดภัย
     3. ข้าศึกโดยเฉพาะพม่ารู้ลู่ทางภูมิประเทศและจุดอ่อนของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี ทำให้ไทยเสีย
         เปรียบในด้านการรบ
     4. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเป็นอันตรายทั้งทางบกและทางน้ำ ข้าศึกสามารถโจมตีได้สะดวก
     5. กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำมากเกินไป ทำให้ไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่าง
         ประเทศ ซึ่งนับวันจะเจริญขึ้นเรื่อยๆ
- ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงตัดสินใจเลือกเอากรุงธนบุรีเป็นราชธานีด้วยสาเหตุสำคัญ
   ต่อไปนี้
     1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ
     2. กรุงธนบุรีตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
     3. สะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองหรือจากหัวเมืองเข้ามา
         ช่วย เมื่อเกิดศึกสงคราม
     4. ถ้าหากข้าศึกยกกำลังมามากเกินกว่ากำลังของทางกรุงธนบุรีจะต้านทานได้ก็สามารถย้ายไปตั้งมั่น
         ที่จันทบุรีได้โดยอาศัยทางเรือได้อย่างปลอดภัย
     5. กรุงธนบุรีมีป้อมปราการอยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำ ที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
         หลงเหลืออยู่สามารถใช้ในการป้องกันข้าศึกได้บ้างที่จะเข้ามารุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือ คือ
         ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และป้อมวิไชเยนทร์
- หลังจากการกอบกู้เอกราชได้แล้ว เจ้านายและข้าราชการได้พร้อมใจอัญเชิญให้พระยาตากขึ้นเป็นพระ
   เจ้าแผ่นดิน ทรงมี พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ประชาชนนิยมเรียก พระเจ้าตากสิน หรือ
    พระเจ้ากรุงธนบุรี
- สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงกอบกู้เอกราชและรวบรวมคนไทยให้เป็นปึกแผ่น โดยใช้เวลาเพียง 3 ปี
- ลักษณะเด่นของพระเจ้าตากสินที่กอบกู้เอกราช คือ 1. พระปรีชาสามารถในการรบ  2. พระปรีชา
  สามารถในการผูกมัดใจคน  3. ทหารของพระองค์มีระเบียบวินัย กล้าหาญ
- หลังจากการกอบกู้เอกราชและก่อสร้างบ้านเมืองได้แล้ว ไทยต้องทำสงครามกับพม่าถึง 9 ครั้ง โดย
   ป้องกันบ้านเมืองไว้ได้ตลอด
-   สงครามครั้งที่ 1 รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ.2310 ผลปรากฏว่าพม่าแพ้เสียอาวุธและเสบียงอาหาร และเรือ
    เป็นจำนวนมาก
    สงครามครั้งที่ 2 พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ.2313 ผลปรากฏว่าพม่าไม่สามารถตีไทยได้
    สงครามครั้งที่ 3 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ.2313 - 2314 สงครามครั้งนี้ต่อเนื่องจากสงคราม
    ครั้งที่ 2 เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกทัพขึ้นไปช่วยรักษาเมืองสวรรคโลก ทรงเห็นเป็น  
    โอกาสดีที่จะยึดเมืองเชียงใหม่มาจากพม่า แต่ไม่สำเร็จ
    สงครามครั้งที่ 4 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 1 พ.ศ.2315 แต่ไม่สำเร็จ ถูกตีแตกพ่ายไป
    สงครามครั้งที่ 5 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 พ.ศ.2316 ผลปรากฏว่าพม่าพ่ายแพ้ไปทำให้เกิดวีรกรรม 
     พระยาพิชัยดาบหักขึ้น
    สงครามครั้งที่ 6 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 พ.ศ.2317 สามารถยึดเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นได้
    สงครามครั้งที่ 7 รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ.2317 ผลปรากฏว่าพม่าแพ้เสียชีวิตและถูกจับเป็น
    เชลยเป็นจำนวนมาก
    สงครามครั้งที่ 8 อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318 สงครามครั้งนี้นับว่าเป็นสงครามครั้งใหญ่ใน
    สมัยธนบุรีผลปรากฏว่าพม่าแพ้ถูกจับเป็นเชลยหลายหมื่นคน
   สงครามครั้งที่ 9 พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2319 พม่าไม่สามารถตีเมืองเชียงใหม่ได้ต้องแตกพ่ายไป
    แต่หลังจากที่พม่าแตกทัพกลับไปแล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเห็นว่าเชียงใหม่มีผู้คนไม่มากพอ
    ที่จะรักษาเมือง จึงอพยพผู้คนออกจากเมืองและประกาศให้เป็นเมืองร้างตั้งแต่นั้นมา จนถึงรัชกาล
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงได้ตั้งขึ้นมาใหม่
     ***  สำหรับสงครามรบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. 2317 เป็นสงครามที่ทำให้พม่าครั่นคร้าม   
             และเข็ดหลาบไม่กล้ามารุกรานไทยอีกต่อไป
- การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 3 ส่วน 1.การปกครองหัวเมืองชั้นใน มีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง
   2. การปกครองหัวเมืองชั้นนอก มีผู้ปกครองเรียกว่า เมืองพระยามหานคร 3. เมืองประเทศราช ให้เจ้า
       เมืองปกครองเช่นเดิม
- ในระยะแรกเศรษฐกิจไทยตกต่ำพระเจ้าตากสินทรงแก้ไขโดย 1. จ่ายพระราชทรัพย์ซื้อเสื้อผ้าและ
    อาหารแจกราษฎร     2. ชักชวนให้ราษฎรกลับมาอยู่ในเมืองตามเดิม   3. ส่งเสริมการค้ากับต่าง
     ประเทศ 4. ส่งเสริมให้ราษฎรทำการเพลาะปลูก
 - ด้านสังคมพระเจ้าตากทรงดำเนินการดังนี้ 1. มีการควบคุมไพร่พลอย่างเข้มงวดเพราะบ้านเมืองมีสงครามมาก  2. ให้มีการสักเลกที่ข้อมือของไพร่หลวง 3. กำหนดให้ไพร่เข้ารับราชการเดือน เว้นเดือน
- เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายแตกสาแหรกขาด ผู้คนพากัน
   หลบหนีเอาชีวิตรอดเกิดข้าวยากหมากแพง ผู้คนที่รอดพ้นจากการจับกุมและไม่ถูกกวาดต้อนไปยัง
   พม่า ได้พยายามรักษาตัวรอด โดยการซ่องสุมผู้คนขึ้นตั้งกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ซึ่งประกอบไปด้วย
   5 ชุมนุม ได้แก่
     1.ชุมนุมเจ้าพิมาย ตั้งอยู่ที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน หัวหน้าคือ
        กรมหมื่นเทพพิพิธ โอรสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าเมืองพิมายมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์
        บ้านพลูหลวง จึงได้สนับสนุนขึ้นเป็นใหญ่
     2.ชุมนุมเจ้าพระฝาง ตั้งอยู่ที่สวางคบุรี ทางเหนือของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัย
       ไปจนถึงเมืองแพร่ เจ้าพระฝาง (เรือน) เป็นสังฆราชเมืองสวางคบุรี มีความสามารถทางคาถาอาคม
       จึงตั้งตัวเป็นใหญ่ได้ทั้งที่อยู่ในสมณเพศ (แต่ใช้ผ้าแดงนุ่งห่มแทนผ้าเหลือง)
     3.ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เป็นหัวหน้า เป็น
        ชุมนุมที่สำคัญทางเหนือ มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัย ลงมาถึงนครสวรรค์ เจ้าพระยาพิษณุโลก
        เป็นขุนนางใหญ่ที่มีความสามารถในด้านการปกครองและการรบ พวกขุนนางที่หลบหนีพม่าออก
        จากกรุงศรีอยุธยาได้ไปสมทบกับชุมนุมนี้เป็นอันมาก ต่อมาถึงแก่พิราลัย หัวหน้าชุมนุมคนต่อมา
        คือ พระอินทร์อากร
     4.ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวหน้าคือ เจ้านครศรีธรรมราช (หนู)
        หรือหลวงสิทธินายเวร มีอาณาเขตตั้งแต่หัวเมืองมลายูขึ้นมาถึงเมืองชุมพร
     5.ชุมนุมพระยาตาก ตั้งอยู่บริเวณหัวเมืองชายทะเลทางฝั่งตะวันออก เมื่อพม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา
       ได้พยายามป้องกันรักษาบ้านเมืองอย่างเต็มที่ แต่สถานการณ์ของกรุงศรีอยุธยาขณะนั้นคับขันมาก
       ทำให้พระยาตากรวบรวมสมัครพรรคพวกไทย-จีน ประมาณ 500 คน ตีฝ่ากองทัพพม่าออกจาก
      เมืองในเดือนยี่(มกราคม) พ.ศ.2309 เพื่อที่จะรวบรวมผู้คนมาสู้รบกับพม่าในตอนหลัง
-     ลักษณะการปกครองของกรุงธนบุรี ดำเนินรอยตามแบบแผนของสมัยอยุธยาตอนปลาย
-      1. การปกครองส่วนกลางหรือราชธานี อยู่ในความรับผิดชอบของอัครมหาเสนนาบดีทั้ง 2 ตำแหน่ง
         คือ สมุหกลาโหม ดูแลฝ่ายทหาร และสมุหนายก ดูแลฝ่ายพลเรือน กับตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์
         อีก 4 ตำแหน่ง คือ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง กรมนา กรมทั้ง 4 นี้ มีหน้าที่ คือ
             1) กรมเวียง มีหน้าที่ปกครองท้องที่ บังคับบัญชาบ้านเมือง และรักษาความสงบเรียบร้อยของ
                 บ้านเมือง
             2) กรมวัง มีหน้าที่รับเกี่ยวกับราชสำนัก และพิจารณาพิพากษาคดีความของราษฎร
             3) กรมคลัง มีหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจากส่วยอากร บังคับบัญชา
                 กรมท่าซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมี หน้าที่เกี่ยวกับพระคลังสินค้า
                 การค้าสำเภาของหลวง
            4) กรมนา มีหน้าที่ดูแลการทำนา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค
               กระบือและที่นา
                คำว่า “กรม” ในที่นี้หมายความคล้ายกับ “กระทรวง”ในปัจจุบัน
-     สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ไว้ 4 เล่ม สมุดไทยแบ่งเป็นตอนไว้ 4 ตอน  
             คือ   เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ              เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยววานรินจนท้าวมาลีวราชมา
                      เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา จนทศกรรฐ์เข้าเมือง        เล่ม 4 ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ
- ในสมัยธนบุรีประเทศไทยมีการติดต่อกับประเทศตะวันตก ดังนี้
        1. ฮอลันดา ใน พ.ศ. 2313 ฮอลันดาจากเมืองปัตตาเวีย (จาการ์ตา) ซึ่งเป็นสถานีการค้าของ
            ฮอลันดา และแขกเมืองตรังกานูได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อถวายปืนคาบศิลา
            จำนวน 2,200 กระบอก และถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองด้วย
        2. อังกฤษ ใน พ.ศ.2319 กัปตันฟรานซิส ไลท์ ได้นำปืนนกสับ จำนวน 1,400 กระบอกและสิ่งของ
            อื่นๆ เข้ามาถวายเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธไมตรี
        3. โปรตุเกส ใน พ.ศ. 2322 แขกมัวร์จากเมืองสุรัต ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส นำสินค้าเข้ามา
             ค้าขายในกรุงธนบุรี และไทยได้ส่งสำเภาหลวงไปค้าขายยังประเทศอินเดีย