วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระบบเศรษฐกิจโลก

ระบบเศรษฐกิจ ความหมายของระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ ( economic system ) หมายถึงกลุ่มบุคคลของสังคมที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งยึดถือแนวปฏิบัติแนวทางเดียวกันในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ อำนวยความสะดวกในการที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบำบัดความต้องการให้แก่บุคคลต่างๆที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้นให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ 1.ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ( Laissez-faire or capitalism) ระบบเศรษฐกิจนี้เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่เอกชนในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ทว่าเสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
       ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกตั้ง เลือกตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 2.กำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแรงจูงใจในการทำงานทำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
       ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.ก่อให้เกิดปัญหาการเหลื่อมล้ำอันเนื่องมาจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลโดยพื้นฐานทำให้การหารายได้ไม่เท่ากัน 2.ในหลายๆกรณีกลไกทางการตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัยากรในระบบเศรษฐกิจ 3.การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างสิ้นเปลือง 2.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ( communism ) ระบบเศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทั้งทรัพยากรต่างๆและปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การตัดสินใจมักจะทำอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับ จากส่วนกลาง (central planning) โดยคำนึงถึงสวัสดิการของสังคมเป็นสำคัญ
       ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1.เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม 2.ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและปริโภคตามคำสั่งของรัฐ
       ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1.ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจ 2.สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงทุนทรัพย์ในการผลิต 3.การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ 3.ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ( socialism ) ระบบเศรษฐกิจแบบนี้เป็นระบบที่ใกล้เคียงกับระบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้รัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรพื้นฐานไว้เกือบทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามรัฐยังให้เสรีภาพแก่ประชาชนบ้างพอสมควร เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ระบบกลไกราคามีผลอยู่บ้างในระบบเศรษฐกิจนี้
       ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1.ช่วยลดปัญหาการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคล 2.เอกชนมีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินได้บ้าง
       ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1.การผลิตถูกจำกัดเพราะต้องผลิตตามที่รัฐกำหนด 2.โอกาสที่จะขยายการผลิตหรือพัฒนาคุณภาพการผลิตเป็นไปได้อย่างลำบาก
4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ( mixed economy )
ระบบเศรษกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างแบบทุนนิยมและสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐและเอกชน
       ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความคล่องตัว
       ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.การมีกำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพสินอาจทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ 2.การที่รัฐสามารถเข้าแทรกแซงตลาดโดยใช้กลไกรัฐอาจก่อให้เกิด
   2.1 ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง   2.2ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองและนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย       
 การพัฒนาเศรษฐกิจ หลักเกณฑ์การวัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ 1. รายได้ต่อบุคคล 2. คุณภาพของประชากร (ซึ่งวัดจากสถิติหลาย ๆ ด้านประกอบกัน เช่น การศึกษา) การแบ่งกลุ่มประเทศโดยใช้เกณฑ์ทางเศรษฐกิจ 1. กลุ่มโลกที่หนึ่ง (ประเทศที่พัฒนาแล้ว) เป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงมาก และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้ามาก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น 2. กลุ่มโลกที่สอง (ประเทศสังคมนิยม) ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ คิวบา 3. กลุ่มโลกที่สาม (ประเทศด้อยพัฒนา) เป็นประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกาละตินอเมริกา และเอเซีย ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ 1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การสะสมทุนสูง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์และประชากรเหมาะสม 2. ปัจจัยทางการเมืองและสังคม เช่น เสถียรภาพทางการเมืองที่สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน ทฤษฏีการพัฒนาเศรษฐกิจ แบบดั้งเดิม (ค.ศ 1940-1960) • เชื่อว่าประเทศด้อยพัฒนาขาดแคลนทุน-เทคโนโลยี • เน้นการแก้ปัญหาโดยรับความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากต่างประเทศ ส่งเสริมการค้าเสรี-การลงทุนจากต่างประเทศ และซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในภาคเอกชนและการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการ นอกจากนี้ยังเน้นการลดอัตราการเกิดของประชากร • แนวคิดนี้ปรากฏแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย ฉบับที่ 1-4 แบบใหม่ (ค.ศ. 1960-1980) • เน้นการสร้างความเจริญด้านอุตสาหกรรม ควบคู่กับการแก้ปัญหาการกระจายรายได้และความยากจนในชนบท และให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น สังคม วัฒนธรรม และการเมืองด้วย • แนวคิดนี้ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยฉบับที่ 5-7 แบบพึ่งตัวเอง • เน้นที่การพัฒนาประชากร และลดการพึ่งพิงประเทศพัฒนาแล้ว การก้าวเข้าสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NEW INDUSTRALIZED COUNTRIES, NICs) ปัจจัยที่ส่งเสริม เช่น • การใช้ทุนและเทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น และเน้นการผลิตด้านอุตสาหกรรมและบริการมากขึ้น • มีแรงงานมาก • การประกอบการที่ดี • มีธุรกิจแบบบริษัทมหาชน เพื่อระดมทุนได้มาก ๆ • เน้นการผลิตเพื่อการส่งออก โดยเน้นการผลิตจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ • มีประชากรที่มีคุณภาพ เกณฑ์ในการวัดความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ • สัดส่วนสาขาเศรษฐกิจแบบหัตถอุตสาหกรรมเทียบกับ GDP ร้อยละ 20 ขึ้นไป • สัดส่วนการจ้างงานในสาขาหัตถอุตสาหกรรม ร้อยละ 25 ขึ้นไป • รายได้ต่อหัว 1,800 ดอลล่าร์สหรัฐขึ้นไป • สัดส่วนของการออมต่อ GDP มากกว่าร้อยละ 30 ขึ้นไป • ระดับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีการผลิต มีการใช้เทคนิควิทยาการชั้นสูง ข้อผิดพลาดในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา 1. การมุ่งกิจการเพื่อศักดิ์ศรีของประเทศ หรือกิจกรรมที่ไม่ได้ใช้แรงงานที่มีอยู่ในประเทศ 2. การมุ่งสร้างสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แสดงความก้าวหน้าทางสังคม 3. การสร้างกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ของประเทศอุตสาหกรรม เช่นย้ายโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสารพิษมาตั้งในประเทศกำลังพัฒนา
                               http://www.woranari.ac.th/woranari/websangkom/new_page_2.htm

ระบบเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

- ระบบเศรษฐกิจเอกชนมีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินงานอย่างเต็มที่  รัฐบาลเป็นเพียงผู้การสนับสนุนแก่ระบบเศรษฐกิจแบบใด    
  ระบบแบบทุนนิยม
-ระบบที่ใช้ควบคุมการดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมให้สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่สิ่งใด     
ระบบกลไกตลาด
-ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมการดำเนินการทางด้านสาธารณูปโภค เป็นบทบาทหน้าที่ของใคร
ภาครัฐบาล
 -ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจะใช้สิ่งใดเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ  
 การได้กำไรเป็นสิ่งตอบแทน
-ลักษณะสำคัญที่แสดงว่าระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นแบบผสมคือสิ่งใด
มีการวางแผนด้านเศรษฐกิจและสังคมล่วงหน้า
-สิ่งไม่ใช่รูปแบบการดำเนินการของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
เอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจมากกว่ารัฐบาล
-ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นการนำส่วนดีของระบบเศรษฐกิจแบบใดมาผสมกัน
ทุนนิยม – สังคมนิยม
-การดำเนินการเศรษฐกิจแบบผสมให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากที่สุด
ภาครัฐบาล
-ระบบกลไกการตลาดของระบบเศรษฐกิจแบบผสมให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากที่สุด
สินค้ามีคุณภาพและราคาที่ถูก
-อะไรคือข้อดีของการดำเนินการในระบบเศรษฐกิจแบบผสม
 เกิดความเป็นธรรมในการบริโภคสินค้า
-คุณลักษณ์ใดของมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางระบบเศรษฐกิจมากที่สุด
  คุณภาพของประชากร
-ประเทศที่สามารถพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจให้มีรุ้งเรืองอย่างรวดเร็วได้ จะต้องมีทรัพยากรของชาติลักษณะใด
  มีทรัพยากรธรรมชาติต่างๆปริมาณมาก
-ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของใครสำคัญที่สุด
 ผลประโยชน์ของรัฐ-การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของไทยเป็นการเพิ่มบทบาทของเศรษฐกิจกับใครเพิ่มขึ้น
  เอกชน-ข้อใดที่จัดเป็นข้อดีของการดำเนินงานในระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มากที่สุด
  ทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
-ข้อใดไม่ใช่ผลดีทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเพิ่มจำนวนประชากร
  งบประมาณของรัฐบาลเพิ่มขึ้น
-ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใด
แบบผสม
-องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือองค์กรใด
WTO
-วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการก่อตั้งสมาคมประชากรประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อร่วมมือกันทางด้านต่างๆยกเว้นร่วมมือทางด้านใด
 ความร่วมมือทางด้านทหาร
-ปัจจุบันสมาคมประชากรประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ
จำนวน 10 ประเทศ
-เขตการค้าแสรีเอเซียนหรืออาฟตา เป็นกลุ่มความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจที่ก่อตั้งขึ้นมาเมื้อใด
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2535
-กลุ่มทางร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียและแปซิฟิกและเอเปก เป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สมาชิกทั้งหมดตั้งอยู่ในบริเวณใด
ตั้งอยู่บริเวณชายฝรั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
-ประเทศที่สมาชิกใหม่ของสมาคมประชากรประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือประเทศใด
ประเทศกัมพูชา
-กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียและแปซิฟิกหรือเอเปก เน้นบทบาทความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเน้นใดสำคัญที่สุด
การค้าระหว่างกันอย่างเสรี
-เป้าหมายสำคัญของการดำเนินงานของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา คือด้านใด
การลดภาษีเข้าของประเทศสมาชิกที่เหลือน้อยที่สุด
-ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นความร่วมมือของประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตใด
ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง
-ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สี่เหลี่ยม เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศใด
ไทย พม่า จีน ลาว
-ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศใด
 ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
-การทำข้อตกลงการค้าเสรี(FTA)ระหว่างไทยกับประเทศใดที่ช่วยให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวมากที่สุด
  เขตการค้าเสรี(FTA) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน
-ข้อใดคือประโยชน์ของการทำการค้าระหว่างประเทศตามนโยบายการค้าเสรี
  สินค้าที่แต่ละประเทศส่งออกเป็นสินค้าที่ประเทศมีความชำนาญในการผลิตและมีต้นทุนต่ำ
-มาตรการกีดกันทางการค้าที่ประเทศทั่วโลกนิยมใช้กันมากที่สุด คือวิธีการในข้อใด
การใช้มาตรการภาษี
-การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับจีน จะทำให้สินค้าชนิดใดของไทยได้รับประโยชน์สูงสุด
 พืชผักผลไม้

ติวหน้าที่พลเมือง

1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือผู้ที่มีลักษณะสำคัญอย่างไร
- คือผู้ที่ปฎิบัติตามสถานภาพ บทบาท สิทธิหน้าที่ของตนได้อย่างเหมาะสมปฏิบัติตามกฎหมายบ้าน 
   เมืองอย่างเคร่งครัด มีคุณธรรมจริยธรรมตามหลักศาสนา และศรัทธาในระบอบการปกครองแบบ
   ประชาธิปไตย2. สถานภาพของบุคคลตามวิธีประชาธิปไตย มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
- สถานภาพคือตำแหน่งหรือฐานะของบุคคลที่ได้รับมาจากเป็นสมาชิกของสังคม โดยแต่ละบุคคลจะมีหลายสถานภาพ ซึ่งถ้าเราปฏิบัติตนตามสถานภาพแล้วสังคมก็จะเป็นระเบียบ3. สถานภาพโดยกำเนิดของบุคคล มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
- คือสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ไม่สามรถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การมีสถานภาพเป็น ชายหรือหญิง  เป็นพี่หรือน้อง  หรือการมีเชื้อชาติไทย4. สถานภาพที่ได้มาโดยความสามารถ มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
- เป็นสถานภาพที่บุคคลได้มาจากความเพียรพยายามของบุคคล เช่น ตำแหน่งหน้าที่การงานต่างๆ5. บทบาทการเป็นสมาชิกในสังคมของบุคคล มีความสำคัญอย่างไร
- คือสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลที่จะต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานภาพของตน โดยบทบาทและสถานภาพจะเป็นตัวกำหนดซึ่งกันและกัน6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้บุคคลสามารถใช้ชีวิตอย่างมีอิสระได้ในสถานที่ใดมากที่สุด
- รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ประชาชนชาวไทยมีเสรีภาพในเคหะสถานของตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยทุกคนจะต้องให้ความเคารพ ไม่สามารถละเมิดเสรีภาพดังกล่าวได้ หากเจ้าหน้าที่รัฐจะตรวจค้น ต้องมีหมายศาลก่อน7. กฎหมายบัญญัติให้ประชาชนชาวไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างไร
- ให้ประชาชนนับถือศาสนาได้อย่างเสรี ไม่มีการบังคับ เป็นไปตามความเชื่อและความสมัครใจของบุคคลนั้นๆ ตราบที่ไม่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น8.  เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนไทยที่กฎหมายให้การคุ้มครอง เป็นการชุมนุมในลักษณะใด
- คือการชุมนุมอย่างสงบ ปราศจากอาวุธใดๆ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น เป็นการชุมนุมเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐ ใช้หลักสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง9. หน้าที่ใดของประชาชนชาวไทยที่มีส่วนทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมมากที่สุด
- การปฏิบัติตามหน้าที่ ให้ความเคารพต่อกฎหมายบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด10. หน้าที่ของผลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองได้โดยวิธีใด
- คือการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งตัวแทนตนเองในระดับต่างๆ โดยเลือกคนดี มีความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต11. หน้าที่ของผลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในด้านเศรษฐกิจ สามารถทำได้โดยวิธีใด
- การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิธีประชาธิปไตยในด้านเศรษฐกิจโดยการประกอบอาชีพสุจริต ไม่คดโกงผู้อื่น ไม่คอร์รัปชั่น เมื่อมีรายได้ตามเกณฑ์ก็ไปเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย รู้จักอดออม ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ดำรงชีวิตแบบพอเพียง12. หน้าที่ของผลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยทางด้านการเมืองการปกครอง ควรปฏิบัติอย่างไร
- โดยการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งในระดับต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกคนดี มีคุณธรรมและมีความสามารถมาเป็นตัวแทน13. หน้าที่ของผลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยทางด้านสังคมวัฒนธรรม ควรปฏิบัติอย่างไร
- โดยการยึดมั่นตามหลักคำสอนที่ตนเองนับถืออย่างเคร่งครัด สืบทอดประเพณีอันดีงามของชาติ การใช้ภาษาที่ถูกต้อง14. สถานบันครอบครัว มีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
- เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสมรส การเลี้ยงดูบุตร มีหน้าที่เพื่อให้กำเนิดสมาชิกใหม่เพื่อทดแทนสมาชิกเก่า การอบรมเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี 15. สถานบันการศึกษา มีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
- ให้การขัดเกลาและถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรมให้กับสมาชิกในสังคม มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา ครู-อาจารย์ เพื่อให้เกิดทักษะและปัญญาที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาต่างๆ และดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม16. สถานบันศาสนา มีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
- ทำหน้าที่ให้การขัดเกลาจิตใจ ปลูกฝังศีลธรรมอันดีงามของสมาชิกในสังคม มีความเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ นักบวช ศาสนิกชนมีประโยชน์ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข17. สถานบันเศรษฐกิจ มีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
- ทำหน้าที่จัดหาสินค้าอุปโภค-บริโภค เพื่อให้พอเพียงแก่สมาชิกในสังคมรวมถึงกำหนดความสัมพันธ์ต่อกัน เช่น การเป็นพ่อค้าแม่ค้า ลูกค้า 18. สถานบันการเมืองการปกครอง มีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
- จัดระเบียบสังคมให้ทุกคนสามารถอยู่รวมกันได้อย่างสงบสุข การปกครองที่ดีต้องให้ผู้อยู่ใต้การปกครองทุกคนดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาล พรรคการเมือง ประชาชน รัฐสภา
19. วัฒนธรรมทางด้านศาสนาของไทยมีความคล้ายคลึงกับประเทศใดในภูมิภาพเอเชียมากที่สุด
- การนับถือศาสนาของไทยจะคล้ายคลึงกับประเทศลาว พม่า เวียดนาม 20. วัฒนธรรมไทยในด้านใดมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชียมากที่สุด
- ทางด้านภาษา เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร

ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์มากที่สุด
1. ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือสิ่งใด
2. ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คือสิ่งใด
3. ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม คือสิ่งใด
4. ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ คือสิ่งใด
5. กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ( APEC ) มีความสำคัญอย่างไร
6. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( ASEAN ) เป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคใด
7. วัตถุประสงค์สำคัญของการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือวัตถุประสงค์ใด
8. การทำข้อตกลงทางการค้าซึ่งเป็นเขตกาค้าเสรี ( FTA ) ระหว่างไทยกับจีน สินค้าของไทยประเภทใดที่จะได้ประโยชน์สูงสุด
9. กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศใด
10. กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศใด 
11.   กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศใด 
12. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร
13. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกัน การมีปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกัน มีความจำเป็นที่จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร
14. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับจำนวนประชากร มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร
15. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว มีความจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร
16. การค้าระหว่างประเทศ หมายถึงสิ่งใด
17. นโยบายการค้าเสรี มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
18. นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
19. ประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติในลักษณะใดที่จะมีความได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในการพัฒนาประเทศ
20. ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง


วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ติวเรื่องพระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช

สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับอาณาจักรธนบุรี (พ.ศ. 2310-2325)

-  พระเจ้าตากเดิมมีชื่อว่า    สิน  บิดาชื่อว่านายไหฮอง  (ขุนพัฒน์) เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย      มารดาชื่อ นกเอี้ยง
- ตอนพระเจ้าตากทรงพระราชสมภพ ในวันที่ 17 เมษายน 2277 ตรงกับแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
- เมื่อทรงพระเยาว์ พระยาจักรี(สมุหนายก) ได้ขอเอาเป็นบุตรธรรม พออายุ 9 ขวบส่งให้เรียนกับ
   อ.ทองดี วัดโกษาวาส
- อายุ 13 พระยาจักรีนำไปถวายตัวรับราชการเป็น มหาดเล็ก
- พ.ศ. 2301  พระเจ้าเอกทัศน์ โปรดเกล้าฯให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราไปชำระความ ต่อมาก็เป็น
   หลวงยกกระบัตรเมืองตาก
   ต่อมาพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาตาก
    (มีทหารเอก คือนายทองดี ต่อมาเป็นพระยาพิชัย)
- พ.ศ. 2308 ไปรับการโปรดเกล้าฯเป็น พระยาวชิรปราการ  ครองเมืองกำแพงเพชร แต่ไม่ทันได้ไปครอง
   พม่าโจมตีพระนคร
- แม่ทัพพม่า คือ พระเจ้ามังระ พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา
- เหตุที่ไทยต้องพ่ายแพ้และเสียกรุงแก่พม่า คือ 1 พระมหากษัตริย์อ่อนแอ  2. แม่ทัพนายกองไม่มีความ
   สามารถและไม่ได้รับความสะดวกในการต่อสู้   3. ทหารขาดความสามารถเพราะว่างจากการศึกเป็น
   เวลานาน
- กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าปี พ.ศ. 2310 การเสียกรุงในครั้งนี้ทำให้บ้านเมืองเสียหายมาก พม่ากวาด
   ต้อนทรัพย์สมบัติและผู้คนไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก
- พม่าแต่งตั้ง สุกี้พระนายกอง เป็นผู้ดูแลและกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สมบัติส่งไปยังพม่า
- พระยาตากเห็นว่าอยุธยาไม่สามารถต้านทานทัพพม่าได้และทั้งความอ่อนแอของกษัตริย์ ขุนนาง และ
   การไม่พร้อมรบเพราะไม่ได้มีการซ้อม ก็ได้รวบรวมไพร่พลไทย-จีน ประมาณ 500 คนตีฝ่าวงล้อมไป
   ทางทิศตะวันออก
- เมืองที่พระยาตากผ่านได้แก่ อยุธยา----นครนายก-----ปราจีนบุรี-----ฉะเชิงเทรา-----ชลบุรี-----
   ระยอง-----จันทบุรี
- พระยาตากรวบรวมหัวเมืองตะวันออกและตั้งที่มั่นที่เมืองจันทบุรีเพราะเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์
   ด้วยข้าวปลาอาหาร
- หลักจากตีเมืองระยองได้ ท่านก็ได้สมญานามว่า  เจ้าตาก  แล้วตกทัพไปตีจันทบุรีต่อไป
- เมื่อได้จันทบุรีแล้วก็ให้มีการต่อเรือ 100 กว่าลำ
- กองทัพเรือที่บัญชาการโดยพระเจ้าตากสินได้โจมตีเมืองธนบุรีเป็นครั้งแรก และจับนายทองอิน
   ประหารชีวิต
- เมื่อต่อเรือและรวบรวมผู้คนได้พร้อมแล้ว พระยาตากจึงได้เคลื่อนทัพเรือมุ่งเข้าตีกองทัพพม่าที่ค่าย
  โพธิ์สามต้น
  สุกี้พระนายกองได้ต่อสู้จนตายในสนามรบ
- หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกราชคืนมาจากพม่าแล้ว สภาพบ้านเมืองของ
   กรุงศรีอยุธยาทุดโทรมมาก ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเมืองหลวงอีกต่อไป เพราะ
     1. กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายชำรุดทรุดโทรมมาก ยากแก่การบูรณะให้ดีดังเดิมได้
     2. กรุงศรีอยุธยามีบริเวณกว้างขวางมาก เกินกว่ากำลังของพระองค์ที่มีอยู่ เพราะผู้คนอาศัยอยู่ตาม
        เมืองน้อย ส่วนมากหลบหนีพม่าไปอยู่ตามป่า จึงยากแก่การรักษาบ้านเมืองได้สะดวกและปลอดภัย
     3. ข้าศึกโดยเฉพาะพม่ารู้ลู่ทางภูมิประเทศและจุดอ่อนของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี ทำให้ไทยเสีย
         เปรียบในด้านการรบ
     4. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเป็นอันตรายทั้งทางบกและทางน้ำ ข้าศึกสามารถโจมตีได้สะดวก
     5. กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำมากเกินไป ทำให้ไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่าง
         ประเทศ ซึ่งนับวันจะเจริญขึ้นเรื่อยๆ
- ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงตัดสินใจเลือกเอากรุงธนบุรีเป็นราชธานีด้วยสาเหตุสำคัญ
   ต่อไปนี้
     1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ
     2. กรุงธนบุรีตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
     3. สะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองหรือจากหัวเมืองเข้ามา
         ช่วย เมื่อเกิดศึกสงคราม
     4. ถ้าหากข้าศึกยกกำลังมามากเกินกว่ากำลังของทางกรุงธนบุรีจะต้านทานได้ก็สามารถย้ายไปตั้งมั่น
         ที่จันทบุรีได้โดยอาศัยทางเรือได้อย่างปลอดภัย
     5. กรุงธนบุรีมีป้อมปราการอยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำ ที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
         หลงเหลืออยู่สามารถใช้ในการป้องกันข้าศึกได้บ้างที่จะเข้ามารุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือ คือ
         ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และป้อมวิไชเยนทร์
- หลังจากการกอบกู้เอกราชได้แล้ว เจ้านายและข้าราชการได้พร้อมใจอัญเชิญให้พระยาตากขึ้นเป็นพระ
   เจ้าแผ่นดิน ทรงมี พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ประชาชนนิยมเรียก พระเจ้าตากสิน หรือ
    พระเจ้ากรุงธนบุรี
- สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงกอบกู้เอกราชและรวบรวมคนไทยให้เป็นปึกแผ่น โดยใช้เวลาเพียง 3 ปี
- ลักษณะเด่นของพระเจ้าตากสินที่กอบกู้เอกราช คือ 1. พระปรีชาสามารถในการรบ  2. พระปรีชา
  สามารถในการผูกมัดใจคน  3. ทหารของพระองค์มีระเบียบวินัย กล้าหาญ
- หลังจากการกอบกู้เอกราชและก่อสร้างบ้านเมืองได้แล้ว ไทยต้องทำสงครามกับพม่าถึง 9 ครั้ง โดย
   ป้องกันบ้านเมืองไว้ได้ตลอด
-   สงครามครั้งที่ 1 รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ.2310 ผลปรากฏว่าพม่าแพ้เสียอาวุธและเสบียงอาหาร และเรือ
    เป็นจำนวนมาก
    สงครามครั้งที่ 2 พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ.2313 ผลปรากฏว่าพม่าไม่สามารถตีไทยได้
    สงครามครั้งที่ 3 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ.2313 - 2314 สงครามครั้งนี้ต่อเนื่องจากสงคราม
    ครั้งที่ 2 เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกทัพขึ้นไปช่วยรักษาเมืองสวรรคโลก ทรงเห็นเป็น  
    โอกาสดีที่จะยึดเมืองเชียงใหม่มาจากพม่า แต่ไม่สำเร็จ
    สงครามครั้งที่ 4 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 1 พ.ศ.2315 แต่ไม่สำเร็จ ถูกตีแตกพ่ายไป
    สงครามครั้งที่ 5 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 พ.ศ.2316 ผลปรากฏว่าพม่าพ่ายแพ้ไปทำให้เกิดวีรกรรม 
     พระยาพิชัยดาบหักขึ้น
    สงครามครั้งที่ 6 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 พ.ศ.2317 สามารถยึดเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นได้
    สงครามครั้งที่ 7 รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ.2317 ผลปรากฏว่าพม่าแพ้เสียชีวิตและถูกจับเป็น
    เชลยเป็นจำนวนมาก
    สงครามครั้งที่ 8 อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318 สงครามครั้งนี้นับว่าเป็นสงครามครั้งใหญ่ใน
    สมัยธนบุรีผลปรากฏว่าพม่าแพ้ถูกจับเป็นเชลยหลายหมื่นคน
   สงครามครั้งที่ 9 พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2319 พม่าไม่สามารถตีเมืองเชียงใหม่ได้ต้องแตกพ่ายไป
    แต่หลังจากที่พม่าแตกทัพกลับไปแล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเห็นว่าเชียงใหม่มีผู้คนไม่มากพอ
    ที่จะรักษาเมือง จึงอพยพผู้คนออกจากเมืองและประกาศให้เป็นเมืองร้างตั้งแต่นั้นมา จนถึงรัชกาล
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงได้ตั้งขึ้นมาใหม่
     ***  สำหรับสงครามรบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. 2317 เป็นสงครามที่ทำให้พม่าครั่นคร้าม   
             และเข็ดหลาบไม่กล้ามารุกรานไทยอีกต่อไป
- การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 3 ส่วน 1.การปกครองหัวเมืองชั้นใน มีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง
   2. การปกครองหัวเมืองชั้นนอก มีผู้ปกครองเรียกว่า เมืองพระยามหานคร 3. เมืองประเทศราช ให้เจ้า
       เมืองปกครองเช่นเดิม
- ในระยะแรกเศรษฐกิจไทยตกต่ำพระเจ้าตากสินทรงแก้ไขโดย 1. จ่ายพระราชทรัพย์ซื้อเสื้อผ้าและ
    อาหารแจกราษฎร     2. ชักชวนให้ราษฎรกลับมาอยู่ในเมืองตามเดิม   3. ส่งเสริมการค้ากับต่าง
     ประเทศ 4. ส่งเสริมให้ราษฎรทำการเพลาะปลูก
 - ด้านสังคมพระเจ้าตากทรงดำเนินการดังนี้ 1. มีการควบคุมไพร่พลอย่างเข้มงวดเพราะบ้านเมืองมีสงครามมาก  2. ให้มีการสักเลกที่ข้อมือของไพร่หลวง 3. กำหนดให้ไพร่เข้ารับราชการเดือน เว้นเดือน
- เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายแตกสาแหรกขาด ผู้คนพากัน
   หลบหนีเอาชีวิตรอดเกิดข้าวยากหมากแพง ผู้คนที่รอดพ้นจากการจับกุมและไม่ถูกกวาดต้อนไปยัง
   พม่า ได้พยายามรักษาตัวรอด โดยการซ่องสุมผู้คนขึ้นตั้งกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ซึ่งประกอบไปด้วย
   5 ชุมนุม ได้แก่
     1.ชุมนุมเจ้าพิมาย ตั้งอยู่ที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน หัวหน้าคือ
        กรมหมื่นเทพพิพิธ โอรสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าเมืองพิมายมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์
        บ้านพลูหลวง จึงได้สนับสนุนขึ้นเป็นใหญ่
     2.ชุมนุมเจ้าพระฝาง ตั้งอยู่ที่สวางคบุรี ทางเหนือของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัย
       ไปจนถึงเมืองแพร่ เจ้าพระฝาง (เรือน) เป็นสังฆราชเมืองสวางคบุรี มีความสามารถทางคาถาอาคม
       จึงตั้งตัวเป็นใหญ่ได้ทั้งที่อยู่ในสมณเพศ (แต่ใช้ผ้าแดงนุ่งห่มแทนผ้าเหลือง)
     3.ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เป็นหัวหน้า เป็น
        ชุมนุมที่สำคัญทางเหนือ มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัย ลงมาถึงนครสวรรค์ เจ้าพระยาพิษณุโลก
        เป็นขุนนางใหญ่ที่มีความสามารถในด้านการปกครองและการรบ พวกขุนนางที่หลบหนีพม่าออก
        จากกรุงศรีอยุธยาได้ไปสมทบกับชุมนุมนี้เป็นอันมาก ต่อมาถึงแก่พิราลัย หัวหน้าชุมนุมคนต่อมา
        คือ พระอินทร์อากร
     4.ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวหน้าคือ เจ้านครศรีธรรมราช (หนู)
        หรือหลวงสิทธินายเวร มีอาณาเขตตั้งแต่หัวเมืองมลายูขึ้นมาถึงเมืองชุมพร
     5.ชุมนุมพระยาตาก ตั้งอยู่บริเวณหัวเมืองชายทะเลทางฝั่งตะวันออก เมื่อพม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา
       ได้พยายามป้องกันรักษาบ้านเมืองอย่างเต็มที่ แต่สถานการณ์ของกรุงศรีอยุธยาขณะนั้นคับขันมาก
       ทำให้พระยาตากรวบรวมสมัครพรรคพวกไทย-จีน ประมาณ 500 คน ตีฝ่ากองทัพพม่าออกจาก
      เมืองในเดือนยี่(มกราคม) พ.ศ.2309 เพื่อที่จะรวบรวมผู้คนมาสู้รบกับพม่าในตอนหลัง
-     ลักษณะการปกครองของกรุงธนบุรี ดำเนินรอยตามแบบแผนของสมัยอยุธยาตอนปลาย
-      1. การปกครองส่วนกลางหรือราชธานี อยู่ในความรับผิดชอบของอัครมหาเสนนาบดีทั้ง 2 ตำแหน่ง
         คือ สมุหกลาโหม ดูแลฝ่ายทหาร และสมุหนายก ดูแลฝ่ายพลเรือน กับตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์
         อีก 4 ตำแหน่ง คือ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง กรมนา กรมทั้ง 4 นี้ มีหน้าที่ คือ
             1) กรมเวียง มีหน้าที่ปกครองท้องที่ บังคับบัญชาบ้านเมือง และรักษาความสงบเรียบร้อยของ
                 บ้านเมือง
             2) กรมวัง มีหน้าที่รับเกี่ยวกับราชสำนัก และพิจารณาพิพากษาคดีความของราษฎร
             3) กรมคลัง มีหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจากส่วยอากร บังคับบัญชา
                 กรมท่าซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมี หน้าที่เกี่ยวกับพระคลังสินค้า
                 การค้าสำเภาของหลวง
            4) กรมนา มีหน้าที่ดูแลการทำนา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค
               กระบือและที่นา
                คำว่า “กรม” ในที่นี้หมายความคล้ายกับ “กระทรวง”ในปัจจุบัน
-     สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ไว้ 4 เล่ม สมุดไทยแบ่งเป็นตอนไว้ 4 ตอน  
             คือ   เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ              เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยววานรินจนท้าวมาลีวราชมา
                      เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา จนทศกรรฐ์เข้าเมือง        เล่ม 4 ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ
- ในสมัยธนบุรีประเทศไทยมีการติดต่อกับประเทศตะวันตก ดังนี้
        1. ฮอลันดา ใน พ.ศ. 2313 ฮอลันดาจากเมืองปัตตาเวีย (จาการ์ตา) ซึ่งเป็นสถานีการค้าของ
            ฮอลันดา และแขกเมืองตรังกานูได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อถวายปืนคาบศิลา
            จำนวน 2,200 กระบอก และถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองด้วย
        2. อังกฤษ ใน พ.ศ.2319 กัปตันฟรานซิส ไลท์ ได้นำปืนนกสับ จำนวน 1,400 กระบอกและสิ่งของ
            อื่นๆ เข้ามาถวายเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธไมตรี
        3. โปรตุเกส ใน พ.ศ. 2322 แขกมัวร์จากเมืองสุรัต ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส นำสินค้าเข้ามา
             ค้าขายในกรุงธนบุรี และไทยได้ส่งสำเภาหลวงไปค้าขายยังประเทศอินเดีย

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ติวทวีปยุโรป ม.2

                                                               สรุปเนื้อหาทวีปยุโรป ม.2
1. ทวีปยุโรปมีภูมิอากาศที่เหมาะสมและเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า  ทำให้สามารถ ข้าวสาลี  มีผลผลิต
     มากกว่าร้อยละ ๖๐  ของผลผลิตรวมทั่วโลก  และสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารและเบียร์ได้
2.  ประเทศที่มีลักษณะเป็นเกาะ อยู่ห่างจากฝั่งทวีปยุโรป มากที่สุดคือประเทศ ประเทศไอซ์แลนด์
3.  ทวีปยุโรปมีอาณาเขตติดต่อกับทะเลทุกด้าน ยกเว้น ด้านตะวันออก
4. "ฟยอร์ด" ในเขตหินเก่าทางเหนือของยุโรป  อยู่บริเวณชายฝั่งประเทศนอร์เวย์
5. ทวีปยุโรปมีแผ่นดินต่อเนื่องกับทวีปเอเชียเรียกว่า ยูเรเซีย
6.  ทวีปยุโรปมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับ  มหาสมุทรอาร์กติก
7.   จุดใต้สุดของยุโรปติดกับ  ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
8.   พรมแดนธรรมชาติระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย มี เทือกเขาอูราล แม่น้ำอูราล
          เทือกเขาคอเคซัส  ทะเลดำ
9.   ทวีปยุโรปมีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทร แอตแลนติก
10.  คาบสมุทรของทวีปยุโรปที่มีลักษณะคล้ายรองเท้าบูตคือ คาบสมุทรอิตาลี
11. พื้นที่ของทวีปยุโรปที่ติดกับทวีปเอเชียทางด้านทิศ ตะวันออก
12.  ยูเรเซีย คือ พื้นดินของทวีปยุโรปที่ติดกับทวีปเอเชีย
13. ประเทศสวีเดน  นอร์เวย์ และฟินแลนด์ จัดอยู่ในภูมิภาค ยุโรปเหนือ
14. ประเทศที่อยู่ใกล้กับทวีปแอฟริกามากที่สุด คือ ประเทศสเปน
15.อารยธรรมความเจริญของชนชาติยุโรป มีรากฐานมาจากอารยธรรม  อารยธรรมกรีก – โรมัน
16.  จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้อังกฤษเป็นชาติผู้นำในการพัฒนาอุตสาหกรรมของยุโรป ตั้งแต่
       คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม
17. ปัจจัยที่ทำให้ทวีปยุโรป ไม่มี ภูมิอากาศร้อนชื้นเหมือนทวีปอื่นๆ คือ ทำเลที่ตั้งตามแนวละติจูด
18. ลักษณะภูมิประเทศของยุโรปตอนเหนือที่เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง  คือ
      ชายฝั่งแบบฟยอร์ด
19. เขตภูมิประเทศของทวีปยุโรปที่ เป็นแหล่งเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์และมีประชากรหนาแน่น คือ
      เขตที่ราบใหญ่ภาคกลาง
20.  ลักษณะภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน(Cs) บริเวณคาบสมุทรอิตาลีและภาคใต้ของยุโรป คือ
       ฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่นและมีฝนตก
21. บริเวณด้านเหนือของทะเลดำ (ประเทศยูเครน) และตอนใต้ของรัสเซีย มีลักษณะภูมิอากาศแห้งแล้ง
      มีปริมาณฝนน้อยที่สุดของทวีปยุโรป คือเขตภูมิอากาศ   แบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น(BS)
22.เกาะอังกฤษและเกาะไอร์แลนด์ เป็นเขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Cfb)
      มีลักษณะภูมิอากาศ    อบอุ่นชื้น มีฝนตกชุกตลอดปี
23. บริเวณพื้นที่ของทวีปยุโรป เป็นเขตภูมิอากาศแบบหนาวกึ่งขั้วโลก หรือแบบไทกา  คือ คาบสมุทร
      สแกนดิเนเวียลักษณะภูมิอากาศแบบขั้วโลก หรือแบบทุนดรา (E) บริเวณตอนเหนือของคาบสมุทร
      สแกนดิเนเวียและตอนเหนือของไซบีเรีย  คือ มีธารน้ำแข็งปกคลุม    ฝนตกในรูปของหิมะ  
       หนาวจัดตลอดปี ไม่มีฤดูร้อน

24. พืชพรรณธรรมชาติในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายแถบอบอุ่น(BS)ของทวีปยุโรป
      คือทุ่งหญ้าสเตปป์   
25 พืชธัญญาหารของยุโรปที่มีผลผลิตรวมของทวีปถึงร้อยละ 60 ของผลผลิตรวมทั่วโลกในแต่ละปี
     คือ  ข้าวสาลี
26 เขตภูเขาและที่ราบสูงในสวิตเซอร์แลนด์และอิตาลีเป็นแหล่ง  เลี้ยงโคเนื้อ โคนม และแกะพันธุ์ขนที่
      สำคัญของทวีปยุโรป คือ บริเวณอากาศอบอุ่นและทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์
27. ปัจจัยที่ทำให้ “ เขตดอกเกอร์แบงค์” ในทะเลเหนือ มีปลาชุกชุมและเป็นแหล่งประมงทางทะเลที่
      อุดมสมบูรณ์ของทวีปยุโรป  คือ อิทธิพลของกระแสน้ำในมหาสมุทร
28. แร่ธาตุที่ เป็นพื้นฐานของความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมของทวีปยุโรป  คือ เหล็ก    ถ่านหิน   
      ปิโตรเลียม 29.  อุตสาหกรรมชั้นสูงของทวีปยุโรปที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตทันสมัยโดยมีสหราชอาณาจักร สวีเดน
       และเยอรมนีเป็นชาติผู้นำด้านการผลิต  คือ อุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทร 
30. สาเหตุที่ทำให้เกิด “ปรากฎการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืน” ในยุโรปเหนือ แถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย
     (ประเทศนอร์เวย์  สวีเดน  ฟินแลนด์ ) ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี คือ  ธารน้ำแข็งปกคลุม
      มหาสมุทรอาร์กติก ทำให้เกิดแสงสะท้อน  31.  ชนชาติยุโรปกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลางของทวีป ในฝรั่งเศส  บัลกาเรีย   เช็กฯลฯ
       มีรูปร่างค่อนข้างเตี้ยล่ำ  ผมสีน้ำตาล  และกะโหลกศรีษะกลม  คือ  กลุ่มอัลไพน์ 
32. ภาษาพูดของประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปใต้ เช่น อิตาลี  สเปน  และโปรตุเกส  จัดอยู่ในกลุ่มตระกูล
      ภาษา คือ กลุ่มภาษาโรมานซ์(ละติน)
33. สาธารณรัฐในทวีปยุโรปที่ เกิดจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เมื่อปีพ.ศ. 2532  คือ 
      ลิทัวเนีย    ลัตเวีย
34. ปัญหาความสัมพันธ์ทางการค้าที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสหภาพยุโรป (EU) ในปัจจุบัน คือ
      การกีดกันและเข้มงวดคุณภาพสินค้าของไทย
35.  อิทธิพลของลักษณะที่ส่งผลให้ทวีปยุโรปกลายเป็นทวีปที่น่าอยู่อาศัยมากที่สุด คือ
        ตำแหน่งที่ตั้ง      
36.คาบสมุทรที่มีจำนวนประเทศตั้งอยู่มากที่สุด   คือ คาบสมุทรบอลข่าน             
37. คาบสมุทรที่มีปรากฏการณ์ “พระอาทิตย์เที่ยงคืน”         คือ   คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย   
38. ภาคพื้นทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาที่อยู่ใกล้กันมากที่สุดมี   ช่องแคบยิบรอลตาร์      คั่นอยู่     
39.ภูมิภาคของทวีปยุโรปอยู่ในเขตภูเขาหินใหม่  คือ ยุโรปตะวันออก      
40. ชายฝั่งทะเลเป็นเขตเทือกเขาหินเก่าในทวีปยุโรป  คือ ทะเลบอลติก                       
41.  ลักษณะชายฝั่งแบบฟยอร์ด ที่เกิดจากการกัดเซาะของ   ธารน้ำแข็ง       ตัวการธรรมชาติพบมากใน 
       เขตประเทศ นอร์เวย์ 
42. กลุ่มประเทศที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว บ่อยครั้งที่สุด      คือ กรีซ  อิตาลี  ยูโกสลาเวีย     
43. ปัจจัยที่ส่งผลให้ทวีปยุโรปมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอากาศอบอุ่น ไม่มีพื้นที่อยู่ในเขตอากาศร้อน
      ของโลก  คือ ที่ตั้งตามแนวละติจูด                                      
44.  กระแสน้ำอุ่นที่ส่งผลให้ชายฝั่งของประเทศนอร์เวย์น้ำไม่เป็นน้ำแข็งในฤดูหนาว สามารถใช้ในการ
       เดินเรือได้    คือ กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ                 
45.  อารยธรรมแรกเริ่มในทวีปยุโรป เกิดขึ้นครั้งแรก คือ บริเวณรอบทะเลบอลติก            
46. รอตเตอร์ดัม  เป็นเมืองท่าเรือใหญ่เปรียบเสมือนประตูสู่ทวีปยุโรปเป็นเมืองท่าตั้งอยู่ในเขต
      ประเทศเนเธอร์แลนด์            
47.   ป่าสน เป็นพืชพรรณธรรมชาติสำคัญของประเทศ เยอรมนี – เดนมาร์ก  และอยู่ในเขตภูมิอากาศ
       แบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก                  
48.  บริเวณที่มีประชากรหนาแน่นของทวีปยุโรปอยู่บริเวณ  ภาคตะวันตกและภาคกลางของทวีป
49. ภาษาอังกฤษจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษา เยอร์มานิก(อินโดยูโรเปียน)          
50. เหตุที่แม่น้ำดานูบมีความสำคัญด้านเศรษฐกิจน้อยกว่าแม่น้ำไรน์ทั้งๆที่เป็นแม่น้ำนานาชาติเหมือน
      กัน  คือ แม่น้ำดานูบไหลลงสู่ทะเลดำซึ่งเป็นทะเลภายใน           
51.ประเทศที่อยู่ในเขตอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตกซึ่งเลี้ยงโคนมได้ผลดีที่สุดและเลี้ยง
     มากที่สุด คือประเทศเดนมาร์ก
52. ประเทศที่เป็นแหล่งดินดำ ดินดี ที่ใช้ผลิตข้าวสาลีได้ผลผลิตมากที่สุดในทวีปยุโรป คือ ยูเครน  
53. เขตอุตสาหกรรมสำคัญของทวีปยุโรปอยู่บริเวณ    ตะวันตก  และกลาง    ของทวีป
54.  บริเวณที่เป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมเหมาะแก่การประมงมากที่สุดของทวีปยุโรป คือ ทะเลเหนือ
       ทะเลนอร์วีเจียน -  ดอกเกอร์แบงค์      

55.น้ำมันปิโตรเลียม ของทวีปยุโรป พบมากบริเวณ ทะเลเหนือ  ,รอบๆทะเลแคสเปียน ,ภาคกลางของ
      รัสเซีย  
56.  การเกษตรกรรมในทวีปยุโรปจัดเป็นการเกษตร แบบการเกษตรแบบผสม                                 
57. น่านน้ำที่เป็นแหล่งจับปลาสเตอร์เจียนที่สำคัญของทวีปยุโรป  คือ ทะเลแคสเปียน 58. ทรัพยากร
      ธรรมชาติที่ทำให้ทวีปยุโรปกลายเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมของโลก  คือเหล็ก , ถ่านหิน               
59. การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งแรกของโลก เกิดขึ้นใน  ประเทศอังกฤษ  เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับ 
      การทอผ้า   
60.แม่น้ำที่ได้รับสมญานามว่า “ แม่น้ำถ่านหิน” เพราะไหลผ่านประเทศเยอรมนี และใช้ขนส่งถ่านหิน
     ออกสู่ตลาดโลกคือ แม่น้ำไรน์
61.ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคของทวีปยุโรป ที่ไม่มี อาณาเขตติดต่อกับทะเล คือยุโรปตะวันออก     
62.  ประเทศใดมีดินแดนทั้งในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย  คือสหพันธรัฐรัสเซีย – ตุรกี  
63.   ทะเลขาว ทะเลคารา ต่างเป็นส่วนหนึ่งของ มหาสมุทรอาร์กติก  
64.  คาบสมุทรที่ มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด  คือคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย  
65. ประเทศที่อยู่ในเขตภูมิอากาศกึ่งทะเลทรายของทวีปยุโรป  คือฮังการี  โรมาเนีย  ยูเครน
66.  ยุโรปใต้อยู่ในเขตภูมิประเทศ  แบบเขตภูเขาหินใหม่
67.  ชายฝั่งทะเลตอนเหนือสุดของทวีปยุโรปอยู่ในเขตภูมิอากาศ แบบทุนดรา  
68.    ป่าสน เป็นพืชพรรณธรรมชาติสำคัญของ ประเทศฟินแลนด์ – สหพันธรัฐรัสเซีย
69.   เอลบรูสเป็นยอดเขาสูงที่สุดในทวีปยุโรปอยู่ในเขต เทือกเขาคอเคซัส
70.   พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปยุโรปอยู่ในใน เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น 
71.   คาบสมุทรที่มีกลุ่มชนเชื้อสายสลาฟ อาศัยอยู่มากที่สุด คือ คาบสมุทรบอลข่าน  
72.   พระสันตะปาปาแห่งนครรัฐวาติกัน ทรงเป็นประมุขศาสนาคริสต์  นิกาย โรมันคาทอลิก 
 73.  ชนเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของทวีปยุโรปกลุ่มใด มีรูปร่างเล็ก ผิวคล้ำ ผมและนัยน์ตาสีดำหรือน้ำตาล
        คือกลุ่มแอลไพน์ 
74. นครรัฐวาติกัน เป็นรัฐอิสระมีขนาดเล็กมาก ตั้งอยู่ใน กุรงโรม 
75. กลุ่มภาษาโรแมนซ์ หรือกลุ่มภาษาละติน เป็นภาษาของประชากร ในยุโรปใต้
76.  ศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ เป็นศาสนาของประชากรส่วนใหญ่บริเวณ ยุโรปตะวันออก 
77.  ดอกทิวลิปและกังหันลม  เป็นสัญลักษณ์ หมายถึง ประเทศเนเธอร์แลนด์
78.  รอตเตอร์ดัม เป็นเมืองท่าเรือใหญ่เปรียบเสมือนประตูสู่ทวีปยุโรปเป็นเมืองใน
       ประเทศเนเธอร์แลนด์ 
79.  ประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรแร่ธาตุ แต่ปัจจุบันผลิตน้ำมันได้มากจากแหล่งในทะเลเหนือ
       คือเนเธอร์แลนด์
80. ไม้ชนิดใดเป็นพืชพรรณธรรมชาติในเขตป่าสน ทางตอนเหนือของทวีปยุโรป คือโอ๊ก  บีช  เบิร์ช
81. บริเวณที่เป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมเหมาะแก่การประมงมากที่สุด  คือ ดอกเกอร์แบงค์ 
82. ทวีปใดมีขนาดพื้นที่น้อยกว่าทวีปยุโรป คือ  ทวีปออสเตรเลีย 
83. ทะเลขาว ทะเลคารา และทะเลแบเรนต์ส อยู่ในน่านน้ำ  ทางทิศเหนือ ของทวีปยุโรป 
84.  รัฐอิสระที่ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี คือนครรัฐวาติกัน
85.  เชอเลน เป็นเทือกเขาสำคัญในคาบสมุทร สแกนดิเนเวีย  
86.  เขตหินเก่า บอลติกชีลด์ อยู่ริมฝั่ง  ทะเลบอลติก
87.  ที่ราบสูงตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส ชื่อว่า  มัสซิฟซองตรัล 
88.  เทือกเขาพีเรนีส เป็นพรมแดนธรรมชาติของ  ประเทศฝรั่งเศส-สเปน 
89. ยอดเขาเอลบรูสอยู่ใน เทือกเขาคอเคซัส 
90. ยุโรปเป็นทวีปเดียวในโลกที่ ไม่มี เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย
91. แหล่งดินอุดมสมบูรณ์ในเขตทุ่งหญ้าสเตปป์ของยุโรปอยู่ที่ ประเทศยูเครน 
92. เขตภูมิอากาศที่เป็นแหล่งปลูกส้ม องุ่น มะกอก มะนาว  คือแบบเมดิเตอร์เรเนียน 93. พืชที่เป็นพืชพรรณธรรมชาติในเขตทุนดรา  คือตะไคร่น้ำ
94. แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลกในทวีปยุโรป คือ บริเวณยุโรปใต้
95. กลุ่มชนเชื้อชาติในทวีปยุโรปส่วนใหญ่มีรูปร่างสูงใหญ่ ผมสีทอง นัยน์ตาสีฟ้า  คือกลุ่มนอร์ดิก
96. ภาษาเฟลมมิชและวัลลุน เป็นภาษาของประชากรใน ประเทศ เบลเยียม
97. กวางเรนเดียร์มีเลี้ยงมากในเขตภูมิอากาศ  แบบทุนดรา
98. ไม้ในป่าสนของทวีปยุโรป ส่วนใหญ่นำไปใช้ประโยชน์ใน ด้านการทำกระดาษ
99.  คาเวียร์ เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงและมีราคาแพง ทำจาก  ไข่ปลาสเตอร์เจียน 
100. แหล่งแร่เหล็กคุณภาพดีของทวีปยุโรปพบมากใน ประเทศสวีเดน